teeneekrubus ที่นี่ครับยูเอส

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

เสื้อ Fieldjecket VINTAGE 1976 US ARMY VIETNAM M-65 MILITARY FIELD size Small-Regular (A2FS68)

เสื้อ Fieldjecket VINTAGE 1976 US ARMY VIETNAM M-65 MILITARY FIELD สินค้ามือสอง ของแท้ 100% จากทหารอเมริกัน ตัวนี้สภาพสวยมากค่ะ สภาพ 90% มีตำหนิกระดุมเสื้อหน้าอกด้านซ้ายหลุด 1 เม็ด สีคงความสดเหมือนเดิมค่ะ รุ่นนี้เป็นสินค้าที่หายากมาก รุ่นสงครามเวียดนาม-อิรัก ผลิตปี 1976  ซิปทองแดง SERVAL อายุของเสื้อเกือบ 44 ปีแล้วค่ะ สภาพสวยกิ๊ก มีฮู้ด 
 8415-00-782-2936
DSA100-76-C-0605
Made In The U.S.A.
Sitemap 
Official Issue
Made In The U.S.A.
M-65 Field Jacket
Vietnam - United States Army
 70s M-65 Combat Field Jacket (Dated 1976)
Winfield Manufacturing Co.,Inc.
100% Cotton
Size Small / Regular
Made in USA
ตามป้ายผลิตปี 76 ค่ะ รุ่นซิปทองแดง
เสื้อ M-65 แบ่ง 3 รุ่นหลักๆ
1.ซิบเงิน Scovill,Serval และ ZZZ 
2.ซิบทองแดง Scovill,Serval และ YKK
3.ซิบไนล่อน YKK
วิธีอ่านป้ายแปะด้านในตัวเสื้อ ตามรูป DSA100-76-C-0605
100 = แบบไสตล์ ในที่นี้คือ M-65
76 = ปีผลิต
C = อันนี้ยังไม่ทราบ
06o5 = ไซด์หรือขนาด
NSN: 8415-00-782-2936
หลังจากมีการออกแบบและ ผลิตM-65 อันโด่งดังขึ้นมาในปี 1984 กองทัพบกสหรัฐได้ให้ความเห็นว่าเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ง่ายต่อการปฎิบัติภารกิจของกองทัพ จึงใช้มาอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่ารุ่นก่อนๆ มีการใส่ลวดลายลงไป เช่นพรางป่าฝน หรือ พรางทะเลทราย แต่ทั้งหมดก็ยังคงไว้ด้วยรูปทรง M-65 ในส่วนที่เราได้สัมผัสกันบางครั้ง เราสงสัยกันมากว่าทำไมเนื้อผ้าไม่เหมือนกัน สืบเนื่องมาจากจำนวนประชากรทหารของสหรัฐเองมีมากมาย ถ้าจะให้โรงงานแห่งเดียวผลิตคงไม่ทันแจกจ่าย รวมทั้งยังมีทหารมากมายที่นำเสื้อผ้าออกมาจำหน่ายให้กับร้านค้าและบุคคลทั่วไป ด้วยเนื่องว่าสามารถตกเบิกใหม่ได้ ทางสหรัฐเองจึงต้องจ้างโรงงานจากหลาย ๆ ที่ผลิตเสื้อขึ้นมา ดังนั้นเนื้อผ้าและความแตกต่างของลายละเอียดนิด ๆ หน่อย ๆ จึงตามมา ปัจจุบัน M-65 เป็นต้นแบบให้กับเสื้อ JACKET ในเชิงแฟชั่นจำนวนมาก อีกทั้ง แฟชั่นทหาร ก็ไม่เคยตายจากสังคม จึงทำให้มีนักสะสมหลายท่านเริ่มตามหารุ่นเก่าปัจจุบันนี้ สหรัฐได้มีการปรับเปลี่ยนเครื่องแบบใหม่แล้วโดยใช้ลาย ดิจิตอล แทนเสื้อผ้ารุ่นเก่าทั้งหมด ที่นิยมเก็บกันมีหลายรุ่นมากค่ะ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน เช่น
1.M-43 สงครามโลกครั้งที่ 2
2.M-51 สงครามเกาหลี
3.M-65 สงครามเวียดนาม-สงครามอิรักตอนต้น-สงครามในอัฟกานิสถาน
นี่ยังไม่รวมถึงเสื้อของนักบินB1-B15(อาจมีรุ่นอื่นๆอีก)หรือจะเป็นพวกทหารท่าเรืออย่าง A1 A2 เหล่านี้ล้วนนิยมจากนักสะสมทั้งสิ้น
ข้อความทั้งหมดนี้ คงมีประโยชน์กับทุกท่านที่กำลังมองหาของสะสมไม่มากก็น้อย หากข้อความตอนใดผิดพลาดไป กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ และหากท่านใด จะช่วยส่งเสริมหรือแบ่งปันข้อมูลเพิ่มเติมก็จะดีมากนะคะ 
size Small-Regular อก 33"-37"  ยาว 67"-71" มีแพท 6 ชิ้น (U.S.ARMY,ยศและหน่วยหรือสังกัด)
ราคา 4,200 บาท + ค่าส่ง EMS 120 บา
























มีฮู้ดค่ะ


 มีตำหนิกระดุมเสื้อหน้าอกด้านซ้ายหลุด 1 เม็ด สีคงความสดเหมือนเดิมค่ะ











Thank you for visiting our store. Have a Great Day.
Please come again.
********
29 มีนาคม ค.ศ. 1973 อเมริกันได้ถอนทหารออกจากเวียดนาม 29 มีนาคม ค.ศ. 1973 อเมริกันได้ถอนทหารออกจากเวียดนาม
ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
ศึกษาและเรียบเรียงจาก History.com “March 29, 1973: U.S. withdraws from Vietnam”
วันนี้ในอดีต 29 มีนาคม ค.ศ. 1973 อเมริกันได้ถอนทหารออกจากเวียดนาม
ภาพ การสู้รบของกองทัพสหรัฐที่ต้องต่อสู้กับสงครามกองโจร การใช้เฮลิคอปเตอร์ในการรำเรียงพล และการต้องเผชิญหน้ากับการรบแบบสู้กับสงครามกองโจรที่สหรัฐไม่คุ้นมาก่อน
 นับเป็นเวลา เดือนหลังการลงนามสันติภาพเวียดนาม กองกำลังรบสุดท้ายของสหรัฐได้ถอนออกจากเวียดนามใต้ เมื่อฝ่ายฮานอยเวียดนามเหนือได้ปล่อยทหารอเมริกันที่ถูกจับเป็นเฉลย ในเมืองไซ่ง่อน อเมริกันยังมีพลเรือนอีก 7,000คนที่ทำงานให้กับกระทรวงกลาโหมที่ยังคงอยู่ เพื่อคอยช่วยเหลือชาวเวียดนามใต้ที่ยังคงมีสงครามสู้รบอย่างรุนแรงต่อไปกับคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ
ในปี ค.ศ. 1961 เป็นต้นมา นับเป็นเวลา 2ทศวรรษที่อเมริกันได้มีการช่วยเหลือทางทหารโดยทางอ้อม โดยในครั้งแรก ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี (John F. Kennedy)ได้ส่งกองกำลังทหารขนาดใหญ่เข้าไปในเวียดนาม เพื่อช่วยรัฐบาลของเวียดนามใต้ต่อสู้กับเวียดนามเหนือ โดยจัดเป็นกองกำลังเพื่อให้คำปรึกษาด้านการสู้รบ หลังจากนั้น ปี รัฐบาลของฝ่ายเวียดนามใต้ก็ล่มสลาย ประธานาธิบดีลินดอน บี จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson)จึงได้เพิ่มบทบาทของกองทัพสหรัฐเป็นจำกัดเพียงเป็นที่ปรึกษา และได้มีการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ และต่อมารัฐสภาสหรัฐได้อนุมัติให้ส่งทหารอเมริกันเข้าสู่สมรภูมิรบโดยตรง แต่ไม่ได้ทำให้สงครามมีท่าทีว่าจะยุติลง ในปี ค.ศ. 1965ฝ่ายเวียดนามเหนือได้เพิ่มระดับการโจมตี จนประธานาธิบดีสหรัฐมีเพียงสองทางเลือก คือยกระดับการเข้าร่วมสงคราม กับการถอนทหาร จอห์นสันได้ตัดสินใจสั่งเพิ่มกำลังรบโดยส่งทหารอเมริกันเข้ารบมากกว่า300,000 นาย และสั่งให้กองทัพอากาศเข้าโจมตีทิ้งระเบิดในเวียดนามอย่างติดต่อกันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์
ในช่วงการสู้รบหลายปีต่อมา สงครามก็ยังยืดเยื้ออย่างไม่มีวันจบ ทหารสหรัฐในเวียดนามได้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น และทำให้สหรัฐมีสถานะเสี่ยงต่อการเป็นชาติอาชญากรสงคราม ดังกรณีการสังหารหมู่ที่ “มีไล” (Massacre at My Lai)ทำให้หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยต่อการเข้าสู้รบของสหรัฐในเวียดนาม ในปี ค.ศ.1968 การรุกใหญ่ของฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามที่เรียกว่า Tet Offensiveยิ่งทำให้เห็นชัดว่าโอกาสที่สหรัฐจะชนะสงครามนั้นเหลือน้อยมาก เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ในเวียดนามที่เลวร้ายยิ่งขึ้น ประธานาธิบดีจอห์นสันได้ประกาศว่า เขาจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในสมัยต่อไป และเขาเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของเขาที่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกแยกกันอย่างหนักของคนภายในชาติในประเด็นสงครามเวียดนาม และเขาได้ให้อำนาจอเมริกันเข้าร่วมในการประชุมเพื่อสันติภาพ
ภาพ การทิ้งระเบิดโดยฝ่ายกองทัพอากาศสหรัฐในสงครามเวียดนาม
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1969ในขณะที่การเดินขบวนต่อต้านสงครามโดยคนหนุ่มสาวและประชาชนชาวอเมริกันเอง ได้ขยายวงไปทั่วประเทศ ส่วนกองกำลังสหรัฐเองในเวียดนามก็ได้เพิ่มขึ้นจนใกล้ 550,000 คน ประธานาธิบดีคนต่อมา คือ ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon)ได้เริ่มกระบวนการถอนทหารออกจากเวียดนาม โดยใช้นโยบายว่าการต่อสู้ภายในเวียดนามให้เป็นเรื่องระหว่างเวียดนามด้วยกันเอง (Vietnamization) แต่สหรัฐกลับมาใช้นโยบายสนับสนุนด้านการทิ้งระเบิด แต่มีการถอนทหารออกจากเวียดนามเพิ่มมากขึ้น แต่มีการขยายการโจมตีทางอากาศไปยังประเทศลาวและกัมพูชาในช่วงเริ่มต้นของทศวรรษ 1970 ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่าเพื่อตัดการส่งกำลังของฝ่ายเวียดนามเหนือลงมายังเวียดนามใต้ การปรับเปลี่ยนลดกำลังรบลงก็จริง แต่เท่ากับเป็นการขยายเขตสู้รบเข้าไปในอีกสองประเทศยิ่งไปเพิ่มกระแสการต่อต้านสงครามภายในสหรัฐเอง
ในที่สุดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1973 ตัวแทนสหรัฐ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ และฝ่ายเวียดกง คือกองกำลังรบต่อต้านรัฐบาลเวียดนามใต้ ได้ร่วมลงนามในสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส อันเป็นการยุติการเข้ามีส่วนสู้รบในสงครามจากฝ่ายสหรัฐ โดยมีการถอนกำลังรบทั้งหมด มีการปล่อยนักโทษสงคราม และปล่อยให้เกิดสันติภาพรวมเวียดนามเหนือและใต้ด้วยกระบวนการสันติภาพ โดยฝ่ายรัฐบาลเวียดนามใต้ที่สหรัฐสนับสนุนยังคงรักษาการณ์จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ และฝ่ายกองกำลังทั้งของฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้จะไม่มีการรุกคืบหน้าหรือเสริมกำลัง
แต่ในความเป็นจริง ข้อตกลงนั้นเป็นเพียงเพื่อรักษาหน้ารัฐบาลสหรัฐในช่วงที่ต้องมีการถอนทหารออก แม้ในช่วงที่มีการถอนทหารสหรัฐจบสิ้นในวันที่ 29 มีนาคม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ฝ่าฝืนมติหยุดยิง และในต้นปี ค.ศ. 1974ฝ่ายเหนือได้มีการขยายแนวรบรุกลงใต้ ฝ่ายรัฐบาลเวียดนามใต้แจ้งว่าทหารและพลเรือนเวียดนามใต้ได้เสียชีวิตไปกว่า80,000 คนในช่วงปีดังกล่าว และทำให้เป็นช่วงที่มีการสูญเสียมากที่สุดในสงครามเวียดนาม
ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1975ชาวอเมริกันกลุ่มสุดท้ายได้ถูกอพยพออกจากเวียดนามใต้ทางอากาศ ในขณะที่ทั้งประเทศได้ตกอยู่ในการครอบครองของฝ่ายคอมมิวนิสต์ นายพันเอกบุย ทิน (Colonel Bui tin)แห่งกองทัพเวียดนามเหนือเป็นฝ่ายรับการยอมแพ้สงครามของฝ่ายเวียดนามใต้ภายในเวลาต่อมาของวันนั้น พร้อมกล่าวแก่ฝ่ายเวียดนามใต้ว่า “ท่านไม่มีอะไรต้องวิตก ระหว่างเราเวียดนาม ไม่มีผู้ชนะและผู้แพ้ มีเพียงอเมริกันเท่านั้นที่พ่ายแพ้” สงครามเวียดนามนับเป็นสงครามที่ไม่ได้รับความชื่นชมที่สุดที่ได้กระทำในต่างแดนในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ ทำให้อเมริกันเสียชีวิตไปรวม 58,000 คน มีชาวเวียดนามทั้งทหารและพลเรือนถูกสังหารไปมากถึง ล้านคน

ภาพ จากการทิ้งระเบิดอย่างปูพรม แต่ผลกระทบต่อประชาชนที่ไม่รู้เรื่องจะสูงมาก ดังภาพการหนีตายจากระเบิดเพลิงนาปาล์มในสงครามเวียดนาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอกราบขอบคุณลูกค้าทุกท่านค่ะ

ถึงแล้ว ไทยแลนด์ ..หิ้วชุดทหารอเมริกันมาเพียบ!!!

สินค้าทุกตัว ทุกชิ้นที่ขายในเวปนี้ ดาร์ลิ้งหิ้วมาและส่งตรงจากอเมริกาค่ะ ขอให้ลูกค้าทุกท่านมั่นใจได้เลยว่าเป็นของแท้ 100%ที่หิ้วมาจากอเมริกาโดยตรง ปีนี้ darling หิ้วมาเยอะมาก ๆ ค่ะ บอร์ดผู้โดยสารขาเข้าต่างประเทศ... เวลาไฟท์ลงจอดค่ะ เฝ้ารอดู darling ที่บอร์ด .. หลังจากเช็คเอ้าท์ พอมาถึงสุโขทัยวันนี้ ...มีพัสดุมารออยู่แล้วค่ะ เปิดกล่องลุ้นไปพร้อม ๆ กันเลย