เสื้อ field jacket M-65 ลาย Woodland Coat, Cold Weather: field Camouflage Pattern ของทหารอเมริกันแท้ 100% สินค้ามือสอง สภาพ 95% สภาพสวยค่ะ สีแจ่ม เนื้อผ้าไม่ช้ำ ไม่มีรอยขาด เสื้อหนา ใส่กันหนาวได้ดีมากค่ะ มีฮู้ด ใช้ได้นานถึงลูกหลาน ไม่มีตกยุค อมตะตลอดกาล เนื้อผ้าและการตัดเย็บแน่นหนาเนี๊ยบมาก ผลิตในปี 86 เสื้อฟิลด์แจ๊คเก็ตรุ่นเก่า หายากมากแล้วค่ะ นักสะสมไม่ควรพลาดนะคะ
USGI Issued M65 Field Jacket Woodland Camo
- Wind resistant 50% cotton/50% nylon sateen outer shell
- Water repellent, bi-swing back for free range of movement
- Front pockets with snap fastener closures
- Bellows breast pockets
- Buttons for liner attachment
- Draw cord for waist, hood and bottom
- Heavy brass zippered front closure with snap fasteners and concealed hood
- Branded with authentic GOLDEN MFG CO.
Features:
- Manufacturer By a U.S. Contractor comes with NSN numbers inside Label Winfield MFG CO.
- NSN located on inside size Tags
- Jacket Has a Concealed Hood
- Jacket is Made of Water-Repellant Polyester/Cotton Twill
- Heavy Zipper and Snap-Up Storm Flap
- Jacket Has Epaulets
- Jacket Has a Waist, Hood and Bottom Drawstrings
- Jacket Has 4 Snap-Up Pockets
- Jacket Has Hook and Loop Fastener Cuffs For Attachment to Gloves
MADE IN USA.
STOCK NO. 8415-01-099-7835
DLA100-86-C-0823
DLA100-86-C-0823
เนื้อผ้า 50% COTTON, 50% NYLON ผลิตในปี 91
ซับใน 100% COTTON
Size Medium-Regular หน้าอก 37"-41" ยาว 67"-71" มีแพทช์ 1 ชิ้น (US.ARMY)
ราคา 2,900 บาท + ค่าจัดส่งลงทะเบียน 80 บาท (EMS+ 150 บาท)
Thanks for Looking and Have a Great Day.
Please come again.
29 มีนาคม ค.ศ. 1973 อเมริกันได้ถอนทหารออกจากเวียดนาม
ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
ศึกษาและเรียบเรียงจาก History.com “March 29, 1973: U.S. withdraws from Vietnam”
วันนี้ในอดีต 29 มีนาคม ค.ศ. 1973 อเมริกันได้ถอนทหารออกจากเวียดนาม
ภาพ การสู้รบของกองทัพสหรัฐที่ต้องต่อสู้กับสงครามกองโจร การใช้เฮลิคอปเตอร์ในการรำเรียงพล และการต้องเผชิญหน้ากับการรบแบบสู้กับสงครามกองโจรที่สหรัฐไม่คุ้นมาก่อน
นับเป็นเวลา 2 เดือนหลังการลงนามสันติภาพเวียดนาม กองกำลังรบสุดท้ายของสหรัฐได้ถอนออกจากเวียดนามใต้ เมื่อฝ่ายฮานอยเวียดนามเหนือได้ปล่อยทหารอเมริกันที่ถูกจับเป็นเฉลย ในเมืองไซ่ง่อน อเมริกันยังมีพลเรือนอีก 7,000คนที่ทำงานให้กับกระทรวงกลาโหมที่ยังคงอยู่ เพื่อคอยช่วยเหลือชาวเวียดนามใต้ที่ยังคงมีสงครามสู้รบอย่างรุนแรงต่อไปกับคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ
ในปี ค.ศ. 1961 เป็นต้นมา นับเป็นเวลา 2ทศวรรษที่อเมริกันได้มีการช่วยเหลือทางทหารโดยทางอ้อม โดยในครั้งแรก ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี (John F. Kennedy)ได้ส่งกองกำลังทหารขนาดใหญ่เข้าไปในเวียดนาม เพื่อช่วยรัฐบาลของเวียดนามใต้ต่อสู้กับเวียดนามเหนือ โดยจัดเป็นกองกำลังเพื่อให้คำปรึกษาด้านการสู้รบ หลังจากนั้น 3 ปี รัฐบาลของฝ่ายเวียดนามใต้ก็ล่มสลาย ประธานาธิบดีลินดอน บี จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson)จึงได้เพิ่มบทบาทของกองทัพสหรัฐเป็นจำกัดเพียงเป็นที่ปรึกษา และได้มีการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ และต่อมารัฐสภาสหรัฐได้อนุมัติให้ส่งทหารอเมริกันเข้าสู่สมรภูมิรบโดยตรง แต่ไม่ได้ทำให้สงครามมีท่าทีว่าจะยุติลง ในปี ค.ศ. 1965ฝ่ายเวียดนามเหนือได้เพิ่มระดับการโจมตี จนประธานาธิบดีสหรัฐมีเพียงสองทางเลือก คือยกระดับการเข้าร่วมสงคราม กับการถอนทหาร จอห์นสันได้ตัดสินใจสั่งเพิ่มกำลังรบโดยส่งทหารอเมริกันเข้ารบมากกว่า300,000 นาย และสั่งให้กองทัพอากาศเข้าโจมตีทิ้งระเบิดในเวียดนามอย่างติดต่อกันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์
ในช่วงการสู้รบหลายปีต่อมา สงครามก็ยังยืดเยื้ออย่างไม่มีวันจบ ทหารสหรัฐในเวียดนามได้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น และทำให้สหรัฐมีสถานะเสี่ยงต่อการเป็นชาติอาชญากรสงคราม ดังกรณีการสังหารหมู่ที่ “มีไล” (Massacre at My Lai)ทำให้หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยต่อการเข้าสู้รบของสหรัฐในเวียดนาม ในปี ค.ศ.1968 การรุกใหญ่ของฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามที่เรียกว่า Tet Offensiveยิ่งทำให้เห็นชัดว่าโอกาสที่สหรัฐจะชนะสงครามนั้นเหลือน้อยมาก เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ในเวียดนามที่เลวร้ายยิ่งขึ้น ประธานาธิบดีจอห์นสันได้ประกาศว่า เขาจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในสมัยต่อไป และเขาเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของเขาที่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกแยกกันอย่างหนักของคนภายในชาติในประเด็นสงครามเวียดนาม และเขาได้ให้อำนาจอเมริกันเข้าร่วมในการประชุมเพื่อสันติภาพ
ภาพ การทิ้งระเบิดโดยฝ่ายกองทัพอากาศสหรัฐในสงครามเวียดนาม
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1969ในขณะที่การเดินขบวนต่อต้านสงครามโดยคนหนุ่มสาวและประชาชนชาวอเมริกันเอง ได้ขยายวงไปทั่วประเทศ ส่วนกองกำลังสหรัฐเองในเวียดนามก็ได้เพิ่มขึ้นจนใกล้ 550,000 คน ประธานาธิบดีคนต่อมา คือ ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon)ได้เริ่มกระบวนการถอนทหารออกจากเวียดนาม โดยใช้นโยบายว่าการต่อสู้ภายในเวียดนามให้เป็นเรื่องระหว่างเวียดนามด้วยกันเอง (Vietnamization) แต่สหรัฐกลับมาใช้นโยบายสนับสนุนด้านการทิ้งระเบิด แต่มีการถอนทหารออกจากเวียดนามเพิ่มมากขึ้น แต่มีการขยายการโจมตีทางอากาศไปยังประเทศลาวและกัมพูชาในช่วงเริ่มต้นของทศวรรษ 1970 ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่าเพื่อตัดการส่งกำลังของฝ่ายเวียดนามเหนือลงมายังเวียดนามใต้ การปรับเปลี่ยนลดกำลังรบลงก็จริง แต่เท่ากับเป็นการขยายเขตสู้รบเข้าไปในอีกสองประเทศยิ่งไปเพิ่มกระแสการต่อต้านสงครามภายในสหรัฐเอง
ในที่สุดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1973 ตัวแทนสหรัฐ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ และฝ่ายเวียดกง คือกองกำลังรบต่อต้านรัฐบาลเวียดนามใต้ ได้ร่วมลงนามในสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส อันเป็นการยุติการเข้ามีส่วนสู้รบในสงครามจากฝ่ายสหรัฐ โดยมีการถอนกำลังรบทั้งหมด มีการปล่อยนักโทษสงคราม และปล่อยให้เกิดสันติภาพรวมเวียดนามเหนือและใต้ด้วยกระบวนการสันติภาพ โดยฝ่ายรัฐบาลเวียดนามใต้ที่สหรัฐสนับสนุนยังคงรักษาการณ์จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ และฝ่ายกองกำลังทั้งของฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้จะไม่มีการรุกคืบหน้าหรือเสริมกำลัง
แต่ในความเป็นจริง ข้อตกลงนั้นเป็นเพียงเพื่อรักษาหน้ารัฐบาลสหรัฐในช่วงที่ต้องมีการถอนทหารออก แม้ในช่วงที่มีการถอนทหารสหรัฐจบสิ้นในวันที่ 29 มีนาคม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ฝ่าฝืนมติหยุดยิง และในต้นปี ค.ศ. 1974ฝ่ายเหนือได้มีการขยายแนวรบรุกลงใต้ ฝ่ายรัฐบาลเวียดนามใต้แจ้งว่าทหารและพลเรือนเวียดนามใต้ได้เสียชีวิตไปกว่า80,000 คนในช่วงปีดังกล่าว และทำให้เป็นช่วงที่มีการสูญเสียมากที่สุดในสงครามเวียดนาม
ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1975ชาวอเมริกันกลุ่มสุดท้ายได้ถูกอพยพออกจากเวียดนามใต้ทางอากาศ ในขณะที่ทั้งประเทศได้ตกอยู่ในการครอบครองของฝ่ายคอมมิวนิสต์ นายพันเอกบุย ทิน (Colonel Bui tin)แห่งกองทัพเวียดนามเหนือเป็นฝ่ายรับการยอมแพ้สงครามของฝ่ายเวียดนามใต้ภายในเวลาต่อมาของวันนั้น พร้อมกล่าวแก่ฝ่ายเวียดนามใต้ว่า “ท่านไม่มีอะไรต้องวิตก ระหว่างเราเวียดนาม ไม่มีผู้ชนะและผู้แพ้ มีเพียงอเมริกันเท่านั้นที่พ่ายแพ้” สงครามเวียดนามนับเป็นสงครามที่ไม่ได้รับความชื่นชมที่สุดที่ได้กระทำในต่างแดนในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ ทำให้อเมริกันเสียชีวิตไปรวม 58,000 คน มีชาวเวียดนามทั้งทหารและพลเรือนถูกสังหารไปมากถึง 2 ล้านคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น